วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 6 Web browser โปรแกรม

บทที่ 6 Web browser โปรแกรม

        “Web browser คืออะไร” เป็นคำถามที่ยังสงสัยว่าทำไมคนยังคงถามและเรายังได้ยินบ่อยมาก ทั้งจากเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ คือถามกันเกือบทุกวัยเลยก็ว่าได้ ที่เป็นเช่นนี้ ผมเดาเอาว่า ไม่ใช่ว่าพวกเราจะไม่รู้ซะเลยที่เดียวว่า Web browser คืออะไร เพราะหลายๆท่าน (รวมทั้งผมด้วย) ต่างก็ใช้งานมันอยู่ทุกวัน อย่างน้อยทุกคนก็ต้องรู้ละว่า Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ แต่นิยามที่แต่ละคนให้ ถึงจะไม่ผิด แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่เหมือนกัน ไม่ครอบคลุม หรือไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่ง หลังจากได้ค้นหาและอ่านนิยามจากหลายๆ เว็บ ผมขอให้ความหมายของ Web browser ใหม่ ดังนี้ 
         Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อสารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า 
           World Wide Web (WWW) 

          WEB BROWSER คืออะไร ความหมายจากหลายๆ เว็บไซต์ ช่วงน้ำท่วม ผมอยู่ว่างๆ เลยลองค้นดูใน Google ว่ามีใครให้ความหมายหรือนิยาม “Web browser คืออะไร” ไว้อย่างไรบ้าง จากผลการค้นหาผมไม่เจอคำนิยามจากหน่วยการที่น่าจะใช้อ้างอิงได้ อย่าง กระทรวงไอซีที หรือหน่วยงานด้านภาษาต่างๆ แต่เจอในเว็บของสถานศึกษาและเว็บเกี่ยวกับไอทีอยู่พอสมควร ในที่นี้ผมขออนุญาตนำ 2-3 ความหมายที่คิดว่าน่าจะถูกต้องมาลงไว้ด้วย ดังนี้ 

 Web browser คือ

“โปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” - http://www.vcharkarn.com/vblog/36733 

“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้” - http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html 

“โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” - http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org 

Web browser คืออะไร 
          ความหมายที่อาจทำให้หลายคนสับสน จากนิยามของ Web browser ที่ได้ข้างต้น รวมทั้งที่ผมได้ให้ไว้เล่นๆ ด้วย จะเห็นได้ว่ามีความหมายที่คล้ายๆ กัน คือ 

        Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในหน้าเว็บเพจ 

อย่างไรก็ตาม จากนิยามหรือความหมายของ Web browser ที่ผมเจอในเว็บต่างๆ ผมมองว่ามี 2 ประเด็นที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยและอาจเป็นสาเหตุให้ตีความหรือเข้าใจว่า Web browser คืออะไร แตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกันไป คือ 

      การใช้คำ “สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต” ที่อาจจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจได้ว่า อินเทอร์เน็ต ก็คือ WWW (World Wide Web) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า WWW เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางกว่า และยังรวมเอาการใช้งานหรือหรือบริการอื่นๆ นอกจาก WWW เอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์ (e-mail) แชท (Chat) IRC และ FTP เป็นต้น 

     การใช้คำ “ภาษา HTML” ที่ผมว่ามันยากไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หรือบางคนที่รู้มากขึ้นมาหน่อย ก็อาจจะสงสัยอีกว่าแล้วภาษา Java, Javascript, Asp, Php, CFM หรืออื่นๆ ล่ะมันคืออะไร ซึ่งในที่นี้ ผมขออธิบายให้เข้าใจนิดหน่อยว่า HTML คือภาษาหลักที่ Web browser ใช้แสดงผลหรือแสดงข้อมูลในหน้าเว็บเพจ ส่วนภาษาอื่นๆ นั้นคือภาษาเสริม ที่ทำให้คนเขียนเว็บจัดการข้อมูลและการแสดงผลต่างๆ ได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งในการใช้ภาษาเสริมอื่นๆ นั้น ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มด้วย เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลแล้วแปลผลที่ได้ให้เป็นภาษาหลัก (HTML) ส่งให้ Web browser นำไปแสดงในหน้าเว็บเพจต่อไป ดังนั้น ในการเขียนเว็บไม่ว่าจะใช้ภาษาเสริมอะไรก็ตาม จะต้องใช้ร่วมกับภาษาหลัก (HTML) เสมอ และข้อมูลที่เราเห็นในหน้าเว็บเพจของทุกเว็บไซต์ก็จะถูกแสดงผลด้วยภาษาหลัก หรือ HTML เสมอด้วยเช่นกัน 

Web browser คืออะไร ความหมายโดยสรุปสั้นๆ จากนิยามของ Web browser ที่ผมได้ให้ตามความเข้าใจข้างต้น และจากการค้นหาและอ่านจากเว็บอื่นๆ ผมขอสรุปและให้นิยาม Web browser คืออะไร ดังนี้ 
        Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อสารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW) 

Web browser มีอะไรบ้าง 
Web browser ที่เป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้ 
-Internet Explorer 
-Mozilla Firefox 
-Google Chrome 
-Safari

บทที่ 5 การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


บทที่ 5 การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 



การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
        เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นการผสมผสานกันของระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะสามารถเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ โดยเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม และสายโทรศัพท์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่ายนี้มีอยู่มากมายหลากหลาย ซึ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เกตเวร์ (Gateway) เราเตอร์ (Router) และสายสื่อสารเป็นจำนวนมากที่เชื่อมต่อสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
     ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) นั้นเป็นเสมือนผู้จำหน่ายที่จัดให้มีเส้นทางเข้าไปสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย ISP แต่ละแห่งจะมีช่องทางการเชื่อมต่อของตนเองอยู่กับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต ด้วยสายการสื่อสารความเร็วสูงเช่น T1 เป็นต้น แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระยะแรกจะอยู่บน พื้นฐานของการส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) และรูปภาพ (Graphic) แต่ในปัจจุบัน ปริมาณและชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ (Graphic Animation) ข้อมูลเสียง (Audio) และวีดิโอ (Video) เป็นต้น 

การตั้งชื่อบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
           เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นจากแนวความคิดที่มีแบบแผน โดยมีการออกแบบและจัดการโดเมน (Domain) อย่างเป็นระบบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และมีการเติบโตเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง Domain Name System (DNS) เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address (name-to-IP address mapping) โดยมีโครงสร้างของฐาน ข้อมูลแบบสำดับชั้น (hierarchical) ที่ประกอบด้วย โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) และโดเมนย่อย (Sub domain) ตัวอย่างเช่น www.gnu.org โดยที่ .org คือโดเมนระดับบนสุด ซึ่งแสดงถึงเป็นประเภทขององค์กรซึ่งไม่ได้ค้ากำไร .gnu คือโดเมนระดับรองซึ่งเป็นชื่อย่อของโครงการ GNU's Not Unix ซึ่งอยู่ภายใต้องค์กร Free Software Foundation (FSF) และภายใต้ชื่อโดเมนดังกล่าวอาจมีโดเมนย่อยอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก 
 ข้อกำหนดที่สำคัญของ DNS คือ ชื่อในโดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้ 
       .mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา 
       .gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล 
       .com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน 
       .net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย           
       .edu แทนสถาบันการศึกษา 
       .org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร 
       .xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ 

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ 
      .firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป 
      .store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า 
      .web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ 
      .arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม 
      .rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ 
      .info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล 
      .nom สำหรับบุคคลทั่วไป 

       ฐานข้อมูล DNS จะทำการจับคู่ระหว่างชื่อที่ผู้ใช้จดจำได้ง่าย เข้ากับ IP Address โดยทำงานคล้ายสมุดโทรศัพท์ที่จับคู่ชื่อบุคคลต่างๆ กับหมายเลขโทรศัพท์ ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะมีการทำงานของ DNS เพื่อค้นหาหมายเลข IP ของเครื่องเป้าหมายโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 


 การทำงานของ Domain Name 

       เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ A ต้องการติดต่อไปยังไซท์ B ซึ่งมีชื่อโดเมน bigcats.msftcats.com ขั้นตอนแรก เครื่องคอมพิวเตอร์ A จะต้องติดต่อเข้าไปยัง DNS Server ท้องถิ่นโดยแจ้งความจำนงว่าจะติดต่อไปยังไซท์ B ถ้าเครื่อง DNS Server ท้องถิ่นมีข้อมูลของไซท์ B อยู่แล้ว ก็จะทำการส่งที่อยู่คือ IP Address ของไซท์ B กลับมาให้ทันที แต่ถ้าเครื่อง DNS Server ท้องถิ่นไม่มีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล ก็จะส่งคำร้องขอนั้นขึ้นไปยังเครื่อง DNS Server ที่อยู่ในโดเมนระดับสูงกว่าถัดขึ้นไปตามลำดับ จนถึง Server ระดับบนสุดคือ Root Server ซึ่ง Root Server แม้จะไม่สามารถค้นหา IP Address ทั้งหมดสำหรับไซท์ B ได้ แต่ก็จะให้ข้อมูลกับ DNS Server ท้องถิ่นว่าจะต้องติดต่อไปยังหมายเลข IP Address ของ maftcats.com ซึ่งจะสามารถจะให้ IP Address ของ bigcat.msftcats.com ได้อย่างสมบูรณ์ กระบวนการค้นหาชื่อทั้งหมดนี้เรียกว่า Iterative Query เนื่องจากการร้องขอจะถูกส่งไปซ้ำๆ หลายรอบโดยผ่านเครื่อง DNS Server ขึ้นไปตามลำดับชั้น จนกระทั่งทราบ IP Address ที่แน่นอนหรือมิฉะนั้นก็จะแจ้งว่าไม่พบไซท์ดังกล่าว 

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 
         จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ ได้มีการเริ่มใช้งานกันมานานตั้งแต่ยุคของเครื่องเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ และมีการพัฒนามาโดยลำดับ จนถึงยุคของอินเตอร์เน็ตอีเมล์ได้มีการพัฒนาโดยมีการทำงานในรูปแบบของไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบสองส่วนหลัก ดังนี้ 

1.User Agent เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านผู้ใช้งาน มีสองส่วนคือส่วนของผู้ส่งและส่วนของผู้รับ โดย User Agent จะติดต่อเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ของตนโดยผ่านระบบ LAN หรือเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม User Agent นี้ก็คือส่วนที่มากับโปรแกรมไคลเอนต์ของอีเมล์ เช่น Outlook Express หรือ Eudora เป็นต้น 
2. Mail Transfer Agent (MTA) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะส่งอีเมล์จากต้นทางไปยังผู้รับปลายทาง ซึ่งจะต้องส่งผ่านเครื่องจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันในเครือข่าย โดยโปรแกรมเหล่านี้จะช่วยกันส่งต่ออีเมล์เป็นทอดๆจนไปถึงเครื่องที่มีที่อยู่เมล์บ็อกของผู้รับ และหากไม่สามารถส่งเมล์ถึงผู้รับได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ก็จะทำหน้าที่ส่งข้อความแสดงความผิดพลาด (error mail) กลับมายังผู้ส่งได้อีก เครื่องที่ MTA ทำงานอยู่ มักจะเป็นเครื่อง Mail Server ซึ่งมีเมล์บ็อกของผู้ใช้อยู่ด้วย 

        การทำงานของระบบอีเมล์โดยสรุปมีสองประเภทคือ การส่งและการรับ การส่งอีเมล์จะกระทำโดยใช้โปรโตคอล SMTP (Simple Mail transfer Protocol) โดยจะมีการทำงานในขณะที่ User Agent ส่งอีเมล์ไปยัง MTA และ ขณะที่ MTA รับส่งอีเมล์ระหว่าง MTA ด้วยกัน สำหรับการรับอีเมล์นั้นมีโปรโตคอลที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายอยู่ 2 แบบได้แก่ POP (Post Office Protocol) และ IMAP (Internet Message Access Protocol) ซึ่งทั้งสอง โปรโตคอลนี้จะทำการดาวน์โหลดอีเมล์จากเครื่องเมล์เซิร์ฟเวอร์ไปยังเครื่องไคลแอนต์ 

การรับส่งแฟ้มข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต FTP (File Transfer Protocol) 
         เป็นโปรโตคอลพื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งกำเนิดมาจากคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX คุณสมบัติพื้นฐานของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ (download) หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (upload) ได้ โปรแกรม FTP จะมีการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยได้รับการพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอล TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสารก่อนทำการสื่อสารจริง เรียกว่า Connection-oriented ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทางและจะมีการตรวจสอบชื่อบัญชีของผู้ใช้ โดยผู้ใช้ต้องแจ้งรหัส Login และ password ก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้ เซิร์ฟเวอร์ของ FTP บางแห่งจะทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ ซึ่งอาจเป็นไฟล์ข้อมูล รูปภาพ หรือโปรแกรมต่างๆ เซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นจะมีหรัสผู้ใช้กลางที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้าระบบเพื่อใช้งานเซิร์ฟเวอร์ FTP ได้ทุกคน ชื่อที่ระบบส่วนใหญ่จะตั้งให้ใช้คือ anonymous หมายถึง ผู้ใช้นิรนาม คือไม่ต้องระบุชื่อที่แท้จริง ดังนั้นผู้ใช้เพียงแต่ทราบชื่อของเซิร์ฟเวอร์ ชื่อไฟล์ และชื่อไดเร็คทอรี ก็จะสามารถดาวโหลดไฟล์ที่ต้องการได้ รหัสผู้ใช้ anonymous นี้ เป็นชื่อสำหรับ login ที่อาจมีการจำกัดสิทธิในการใช้งานต่างๆ เช่น ผู้ใช้อาจจะเห็นข้อมูลได้เฉพาะบางไดเร็คทอรีเท่านั้น และไม่สามารถส่งไฟล์ไปเก็บยังเซิร์ฟเวอร์ได้ ในการ login ของ anonymous นั้น อาจต้องใส่ password เป็นที่อยู่อีเมล์ของผู้ใช้ หรืออาจไม่ต้องใส่รหัสผ่านเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละระบบ 

 เทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ 
       ในโลกของอินเตอร์เน็ตนั้น การใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ) นับว่าได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บเป็นผู้ปลุกกระแสการใช้งานอินเตอร์เน็ตให้ขยายตัวจากกลุ่มผู้ใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ไปสู่กลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ในทุกสาขาอาชีพ ในปัจจุบันเว็บกลายเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับวงการธุรกิจและการค้า และยังเป็นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจเกือบทุกประเภทเข้ามามีส่วนร่วม มีการทำการตลาด การโฆษณา การซื้อขาย และแม้แต่การชำระเงินซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เว็บจึงกลายเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของชีวิต ที่เป็นทั้งแหล่งข้อมูล แหล่งให้ความเพลิดเพลิน แหล่งซื้อหาสินค้า และบริการต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน